การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล ดังนี้

 

 

1)

การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวแปรเดียว เป็นการศึกษาลักษณะต่างๆ ของข้อมูล

 

ข้อมูล

ระดับข้อมูล

สถิติเชิงพรรณนา

สถิติเชิงอนุมาน

ตัวแปรเดียว

นามบัญญัติ

– ฐานนิยม

– การทดสอบไคสแควร์

– ความถี่สัมบูรณ์และ

 

  ความถี่สัมพัทธ์ในแต่ละพวก

 

อันดับ

– มัธยฐาน

– การทดสอบของโครโมโกรอฟ-สมินอฟ

– พิสัย ควอไทล์

  สำหรับหนึ่งตัวอย่าง

อันตรภาคชั้น

– ค่าเฉลี่ย

– การทดสอบโดยใช้ t

– ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

– การทดสอบโดยใช้ z

 

 

2)

การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีสองตัวแปร ส่วนใหญ่จะดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีความแตกต่างระหว่างตัวแปรทั้งสองหรือไม่

 

ข้อมูล

ระดับข้อมูล

สถิติเชิงพรรณนา

สถิติเชิงอนุมาน

สองตัวแปร 

นามบัญญัติ

– สัมประสิทธิ์การจร

– การทดสอบไคสแควร์

อันดับ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดย

– การทดสอบแมนน์-วิทนี

  ใช้ลำดับที่

– การทดสอบของโครโมโกรอฟ-สมินอฟ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ

 สำหรับสองตัวอย่าง

   เคนดอล

 

อันตรภาคชั้น

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย

– การทดสอบสัมประสิทธิ์ความถดถอย

– ความถดถอยอย่างง่าย

– การทดสอบความแตกต่างระหว่าง

 

  ค่าเฉลี่ยของสองประชากร

 

 

3)

การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีมากกว่าสองตัวแปร เป็นการวิเคราะห์ชั้นสูงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวแปรมากกว่าสองตัวแปรพร้อมกัน ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 วิธีคือ

  • การวิเคราะห์แบบขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น เป็นการวิเคราะห์ที่มีตัวแปรหนึ่งตัวหรือมากกว่าที่ถูกกำหนดให้ถูกพยากรณ์ด้วยตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ ชุดหนึ่ง ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุ (multiple regression analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ (multivariate analysis) และการวิเคราะห์การจำแนก (discriminant analysis)

  • การวิเคราะห์แบบขึ้นอยู่ระหว่างตัวแปรด้วยกัน เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่มีตัวแปรที่ถูกกำหนดให้ถูกพยากรณ์ด้วยตัวแปรตัวอื่นๆ แต่เป็นการดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน ได้แก่ การวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) การวิเคราะห์กลุ่ม (cluster analysis)

  • ใส่ความเห็น